วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ฝุ่นPM2.5



                                                           ฝุ่นPM2.5



ฝุ่นละออง PM 2.5 คือ...
                ฝุ่นละออง PM 2.5 คือ ฝุ่นที่มีขนาดเล็กมากๆๆ เล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางเส้นผมเราถึง 25 เท่า ยิ่งฝุ่นมีขนาดเล็กเท่าไหร่ เมื่อเราหายใจเอาฝุ่นเข้าไป มันก็จะเข้าปอดเราลึกมากเท่านั้น (ฝุ่นยิ่งเล็ก ยิ่งเข้าลึก)
          เมื่อฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในปอด ปอดก็จะป้องกันตัวเองด้วยการห่อหุ้มฝุ่นเพื่อกำจัดออก จึงทำให้เกิดเป็นกลุ่มผังพืดในปอด ถ้าสะสมเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ เช่น โรคปอดอักเสบ และอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



ไอฝุ่นเล็ก PM 2.5 ขนาดนี้ มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรกัน?
                          มลพิษทางอากาศเหล่านี้ ก็มาจากการจราจร ควันเสียรถยนต์ อุตสาหกรรม และการเผา ประกอบกับเกิดสภาพอากาศนิ่ง ลมสงบ และชั้นอากาศผกผันใกล้พื้นดิน ทำให้มลพิษทางอากาศเกิดการสะสมตัวในปริมาณมาก
              โดยปรากฏการณ์นี้ จะพบเป็นบางวันในช่วงฤดูหนาว ถึงต้นฤดูร้อน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับ PM 2.5 สูงขึ้นผิดปกติในช่วงที่ผ่านมา
                                                  à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง

แล้วกลุ่มเสี่ยงล่ะ? 
                   ที่จริงแล้ว ฝุ่นละออง PM 2.5 นี้เป็นอันตรายกับทุกๆคน เพราะมันจะผ่านเข้าขนจมูก โพรงจมูก ลำคอ หลอดลมใหญ่ จนกระทั่งหลุดเข้าไปในถุงลมและปอดของเราอย่างง่ายดาย
                   จะก่อให้เกิดอาการไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะ หายใจลำบาก เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดในสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งปอด โรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ
               รวมถึงทำลายระบบประสาทจนเป็นอัมพาต เพราะสารปรอทที่อยู่ใน PM 2.5 ซึ่งมาจากกระบวนการเผาไหม้น้ำมันและถ่านหิน จะไปทำลายระบบประสาททำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้
                                       
                                                       

                
การป้องกันล่ะ? 
หน้ากากอนามัยแบบไหนที่ป้องกัน ฝุ่นละออง PM 2.5 ได้
           หลักง่ายๆในการเลือกหน้ากากอนามัย ให้เราสังเกตุหน้าซองที่ระบุว่า สามารถป้องกันฝุ่นได้? และป้องกันฝุ่นผงขนาดเท่าไหร่บ้าง?
          แต่ที่กรองป้องกันฝุ่น PM 2.5 ❌ ไม่ได้แน่นอนเลย คือ




ขอบคุณภาพจาก เฟซบุ๊ก Teed Udomporn

1. หน้ากากแบบผ้า : ไม่มีคุณสมบัติกรองฝุ่นได้เลย ใส่ไปหายใจฝุ่นก็เข้าไปอยู่ดี
2.หน้ากากอนามัยแบบทั่วไป : กรองฝุ่นขนาด PM 3 ได้ แต่กรองฝุ่น PM 2.5 ที่เล็กกว่าไม่ได้
3.หน้ากากอนามัยพร้อมชั้นกรองคาร์บอน : หน้ากากแบบนี้ใช้ได้ดีในบริเวณที่มีควันรถยนต์ เช่น กรุงเทพฯ ซึ่งสามารถกรองฝุ่นขนาด PM 3 ได้ แต่กรองฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้ เช่นกัน


***ส่วนหน้ากากที่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5ได้ คือ

1. หน้ากากกรองอนุภาค รุ่น R95 เป็นหน้ากากที่คนทำงานเกี่ยวกับพ่นสีหรือไอระเหยใช้กัน ป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 0.3 ยังได้

2. หน้ากากกรองอนุภาคเส้นใยไฟฟ้าสถิต ป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 0.3 ได้เหมือนกัน แถมยังป้องกัน ฟูมโลหะ ที่เกิดจากการเชื่อมตะกั่วบัดกรีได้อีกด้วย

สำหรับ 2 ข้อแรก คุณสมบัติอาจจะเกิดความจำเป็นสำหรับคนทั่วไป ที่ไม่ได้ทำงานเฉพาะทาง พ่นสี ไอระเหย งานเชื่อม เพราะฉะนั้นหน้ากากที่แนะนำให้ควรใช้คือ




ขอบคุณภาพจาก เฟซบุ๊ก Teed Udomporn

3. หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง ที่ระบุว่าเป็นเส้นใยประจุไฟฟ้าสถิต ป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 0.3 ละออง เชื้อโรค และฟูมโลหะ ป้องกันได้ถึง 95% มีมาตรฐาน NIOSH หาซื้อง่ายตามห้างสรรพสินค้า หรือห้างที่มีอุปกรณ์ช่างขาย ราคา 30-50 บาท มีให้เลือกใช้หลายยี่ห้อ

แต่ๆๆ ที่สำคัญ‼️

การใส่หน้ากากอนามัยไม่ควรใช้นานเกินไป หากมีสภาพที่สกปรกหรือหายใจแล้วเริ่มได้กลิ่นภายนอก แสดงว่าอาจจะเสื่อมสภาพแล้วควรเปลี่ยนโดยเร็ว


 แล้วแบบนี้ หน้ากากที่ใช้แล้ว ควรจะเปลี่ยนตอนไหน?

เรื่องนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ที่เราใช้ หากต้องใส่บ่อยๆ หรือใส่ทุกวัน ก็ควรเปลี่ยนบ่อย หรือถ้าเราใช้แล้วรู้สึกว่า หายใจสะดวกกว่าตอนใส่แรกๆ แบบนี้ต้องเปลี่ยน เพราะถ้าเราหายใจสะดวกขึ้นแสดงว่าหน้ากากเริ่มเสื่อม การกรองลดคุณภาพหายใจไปฝุ่นก็เข้าปอดเราไม่ต่างจากการใส่หน้ากากผ้าธรรมดาๆ นั่นเอง

 แต่ทางที่ดี ควรหลีกเลี่ยงการออกนอกอาคารหรือที่อยู่อาศัยหากไม่จำเป็น และ
- งดสูบบุหรี่
- ดื่มน้ำสะอาดมากๆ
- ล้างมือและหน้าบ่อยๆ
- รักษาความสะอาดของที่อยู่อาศัย
- เมื่อมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์
- ผู้ป่วยโรคหอบหืดและผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรพกยาติดตัวไว้ตลอดเวลา




ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค
                               www.bugaboo.tv/watch/367233




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เทคโนโลยี4.0

เทคโนโลยี4.0                  “ดิจิทัล 4.0” และ “ดิจิทัลไทยแลนด์” เป็นวลีที่คนไทยเริ่มจะได้ยินบ่อยขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ หลายคนอาจจะสงสัย...