วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เทคโนโลยี4.0

เทคโนโลยี4.0
                 “ดิจิทัล 4.0” และ “ดิจิทัลไทยแลนด์” เป็นวลีที่คนไทยเริ่มจะได้ยินบ่อยขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าหมายถึงอะไร เกี่ยวข้องกับพวกเรายังไง ส่งผลอะไรต่อชีวิตเราบ้าง และประเทศไทยในตอนนี้อยู่ในยุคใด คนไทยมีชีวิตผูกติดกับดิจิทัลมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินเทอร์เน็ต ซื้อขายออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ ทำธุรกรรมการเงินผ่านแอพพลิเคชั่น การสื่อสาร แต่เพียงเท่านี้ยังไม่พอที่จะพาสังคมไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล 4.0 ได้
              ก่อนที่จะศึกษานิยามของ Digital 4.0 เรามาทำความรู้จักยุคแรกๆของโลกดิจิทัลกันก่อน 1.0 ถึง 3.0 คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร
digital4.0 timeline

Digital 1.0 เปิดโลกอินเตอร์เน็ต

            ยุคนี้เป็นยุคเริ่มต้นของ “Internet เป็นช่วงเวลาที่กิจกรรมและการดำเนินชีวิตของผู้คนเปลี่ยนจากออฟไลน์ (offline) มาเป็นออนไลน์(online)มากขึ้น เช่น การส่งจดหมายทางไปรษณีย์ก็เปลี่ยนมาเป็นการส่งอีเมล์ E-mail และอีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การถือกำเนิดของเว็บไซต์ Website ที่ทำให้เราเข้าถึงทุกอย่างได้ง่ายขึ้นและทั่วถึง การอัพเดตรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบครั้งใหญ่และเป็นวงกว้าง การดำเนินกิจกรรมสะดวกและรวดเร็ว เริ่มมีกิจกรรมเชิงพาณิชย์และโฆษณาผ่านเครื่องมือออนไลน์เสมือนกับมีหน้าร้านที่ทุกคนบนโลกจะเห็นเราได้ง่ายขึ้น

Digital 2.0 ยุคโซเชียลมีเดีย

                ต่อยอดจากยุค 1.0 ก็จะเป็นยุคที่ผู้บริโภคเริ่มสร้างเครือข่ายติดต่อสื่อสารกันในโลกออนไลน์ เครือข่ายสังคม Social Network นี้เริ่มจากการคุยหรือแชทกับเพื่อน สมาคม กลุ่มเล็กๆของผู้คนที่ต้องการความสะดวกสบายในการติดต่อสื่อสาร จุดเล็กๆนี้เริ่มพัฒนาและขยายวงกว้างไปสู่การดำเนินกิจกรรมในเชิงธุรกิจ โดยนักธุรกิจส่วนใหญ่มองว่า Social Media เป็นเครื่องมือเชื่อมต่อและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้แก่พวกเขาได้เป็นอย่างดีด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว อีกทั้งยังช่วยในการพัฒนา Brand วัดผลการดำเนินงานของธุรกิจ ส่งเสริมภาพลักษณ์แบรนด์ เสมือนว่า Social Media เป็นกระบอกเสียงและเวทีเสนองานแก่นักธุรกิจสู่สายตาชาวโลกเป็นอย่างดี เครื่องมือโซเชียลยังสามารถเป็นอำนาจในการต่อรองของผู้บริโภคที่กำลังตัดสินใจเลือกสินค้าและบริการ เนื่องจากมีตัวเลือกและร้านค้าให้เห็นมากขึ้นอีกด้วย

when technology has its own brain

Digital 3.0 ยุคแห่งข้อมูลและบิ๊กดาต้า

                      ยุคแห่งการใช้ข้อมูลที่วิ่งเข้าออกเป็นล้านๆดาต้าให้เป็นประโยชน์ การเติบโตของโซเชียลมีเดียและ E-Commerce จากยุค 2.0 ทำให้เกิดการขยายของข้อมูลอย่างมหาศาล ทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น สื่อโซเชี่ยล เว็บเบราวเซอร์ หรือแม้แต่ธุรกิจอย่างธนาคาร โลจิสติกส์ ประกันภัย รีเทล ต่างมีข้อมูลเข้าออกเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน และเริ่มมีการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังคำกล่าวที่ว่า “ใครมีข้อมูลมาก ก็มีอำนาจมาก”
ข้อมูลถูกนำมาประมวลผล จับสาระ วิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้บริโภคเพื่อสร้างสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองโจทย์ของลูกค้าได้ ทุกองค์กรต่างเห็นความสำคัญของการนำบิ๊กดาต้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่การนำบิ๊กดาต้ามาตอบสนองอย่างเรียลไทม์นั้น จำเป็นต้องมีระบบคลาวด์ Cloud Computing มาช่วยอำนวยความสะดวก จัดเก็บข้อมูล เลือกทรัพยากรตามการใช้งาน และทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลบนคลาวด์จากที่ใดก็ได้ ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบ ข้อมูลต่างๆผ่านอินเตอร์เน็ต สามารถจัดการ บริหารข้อมูล และแบ่งปันข้อมูลกับผู้อื่น (Shared Services) ลดต้นทุนและลดความยุ่งยากเพื่อโฟกัสกับงานหลัก เพิ่มความเร็วในการบริการและการทำธุรกิจได้มากขึ้น
บิ๊กดาต้าสามารถนำมาต่อยอดโดยการคิดค้น เฟ้นหา และประยุกต์ใช้ข้อมูลนั้น พัฒนาเป็นแอพลิเคชั่น Application ที่ให้ความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภคผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บเลตอีกด้วย

Digital 4.0 เมื่อเทคโนโลยีมีมันสมอง

                     และเราก็มาถึงยุคที่ความฉลาดของเทคโนโลยีจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆสื่อสารและทำงานกันเองได้อย่างอัตโนมัติ เทคโนโลยีในสามยุคแรกที่กล่าวไปเปรียบเสมือนเป็นแขน ขา ให้แก่มนุษย์ เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก หยิบจับ คำนวณ ประมวลผมให้มนุษย์ มีแขน ขา แต่ไม่มีสมองเป็นของตัวเอง ในยุค 4.0 เทคโนโลยีถูกนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อลดบทบาทของมนุษย์ และเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ในการใช้ความคิดเพื่อข้ามขีดจำกัด สร้างสรรค์พัฒนาสิ่งใหม่ๆ โดยจะใช้ชื่อยุคนี้ว่าเป็นยุค Machine-to-Machine เช่น เราสามารถเปิด-ปิด หรือสั่งงานอื่นๆกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านตัวเองผ่านแอพลิเคชั่นโดยไม่ต้องเดินไปกดสวิตช์ หรือตัวอย่างที่ถูกนำมาใช้งานจริงแล้วอย่างการพูดคำว่า “แคปเจอร์” กับแอพถ่ายภาพในสมาร์ทโฟน โทรศัพท์ก็จะถ่ายรูปให้อัตโนมัติโดยที่เราไม่ต้องกดถ่ายด้วยซ้ำ หรือแม้แต่เทคโนโลยีซิมูเลชั่น Simulation จำลองสถานการณ์เพื่อฝึกอบรมพนักงาน วางแผนสถานการณ์โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปถึงสถานที่จริง หรือเป็นสื่อการเรียนรู้แบบ Interactive เป็นต้น
digital4.0-today
             เทคโนโลยีและโลกดิจิทัลมักไปไว และเคลื่อนที่ไม่มีหยุด องค์กรจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันตามเทรนด์ พัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดธุรกิจบนการแข่งขันที่รวดเร็วและรอบด้าน จาก SME ให้กลายเป็น Smart Enterprise ที่มีศักยภาพสูงขึ้น จากบริการธรรมดาให้กลายเป็น High Value Service เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของธุรกิจ
แหล่งอ้างอิง:http://www.wice.co.th/2018/01/11/digital-4-0-technology/

ฝุ่นPM2.5



                                                           ฝุ่นPM2.5



ฝุ่นละออง PM 2.5 คือ...
                ฝุ่นละออง PM 2.5 คือ ฝุ่นที่มีขนาดเล็กมากๆๆ เล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางเส้นผมเราถึง 25 เท่า ยิ่งฝุ่นมีขนาดเล็กเท่าไหร่ เมื่อเราหายใจเอาฝุ่นเข้าไป มันก็จะเข้าปอดเราลึกมากเท่านั้น (ฝุ่นยิ่งเล็ก ยิ่งเข้าลึก)
          เมื่อฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในปอด ปอดก็จะป้องกันตัวเองด้วยการห่อหุ้มฝุ่นเพื่อกำจัดออก จึงทำให้เกิดเป็นกลุ่มผังพืดในปอด ถ้าสะสมเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ เช่น โรคปอดอักเสบ และอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



ไอฝุ่นเล็ก PM 2.5 ขนาดนี้ มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรกัน?
                          มลพิษทางอากาศเหล่านี้ ก็มาจากการจราจร ควันเสียรถยนต์ อุตสาหกรรม และการเผา ประกอบกับเกิดสภาพอากาศนิ่ง ลมสงบ และชั้นอากาศผกผันใกล้พื้นดิน ทำให้มลพิษทางอากาศเกิดการสะสมตัวในปริมาณมาก
              โดยปรากฏการณ์นี้ จะพบเป็นบางวันในช่วงฤดูหนาว ถึงต้นฤดูร้อน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับ PM 2.5 สูงขึ้นผิดปกติในช่วงที่ผ่านมา
                                                  à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง

แล้วกลุ่มเสี่ยงล่ะ? 
                   ที่จริงแล้ว ฝุ่นละออง PM 2.5 นี้เป็นอันตรายกับทุกๆคน เพราะมันจะผ่านเข้าขนจมูก โพรงจมูก ลำคอ หลอดลมใหญ่ จนกระทั่งหลุดเข้าไปในถุงลมและปอดของเราอย่างง่ายดาย
                   จะก่อให้เกิดอาการไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะ หายใจลำบาก เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดในสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งปอด โรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ
               รวมถึงทำลายระบบประสาทจนเป็นอัมพาต เพราะสารปรอทที่อยู่ใน PM 2.5 ซึ่งมาจากกระบวนการเผาไหม้น้ำมันและถ่านหิน จะไปทำลายระบบประสาททำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้
                                       
                                                       

                
การป้องกันล่ะ? 
หน้ากากอนามัยแบบไหนที่ป้องกัน ฝุ่นละออง PM 2.5 ได้
           หลักง่ายๆในการเลือกหน้ากากอนามัย ให้เราสังเกตุหน้าซองที่ระบุว่า สามารถป้องกันฝุ่นได้? และป้องกันฝุ่นผงขนาดเท่าไหร่บ้าง?
          แต่ที่กรองป้องกันฝุ่น PM 2.5 ❌ ไม่ได้แน่นอนเลย คือ




ขอบคุณภาพจาก เฟซบุ๊ก Teed Udomporn

1. หน้ากากแบบผ้า : ไม่มีคุณสมบัติกรองฝุ่นได้เลย ใส่ไปหายใจฝุ่นก็เข้าไปอยู่ดี
2.หน้ากากอนามัยแบบทั่วไป : กรองฝุ่นขนาด PM 3 ได้ แต่กรองฝุ่น PM 2.5 ที่เล็กกว่าไม่ได้
3.หน้ากากอนามัยพร้อมชั้นกรองคาร์บอน : หน้ากากแบบนี้ใช้ได้ดีในบริเวณที่มีควันรถยนต์ เช่น กรุงเทพฯ ซึ่งสามารถกรองฝุ่นขนาด PM 3 ได้ แต่กรองฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้ เช่นกัน


***ส่วนหน้ากากที่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5ได้ คือ

1. หน้ากากกรองอนุภาค รุ่น R95 เป็นหน้ากากที่คนทำงานเกี่ยวกับพ่นสีหรือไอระเหยใช้กัน ป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 0.3 ยังได้

2. หน้ากากกรองอนุภาคเส้นใยไฟฟ้าสถิต ป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 0.3 ได้เหมือนกัน แถมยังป้องกัน ฟูมโลหะ ที่เกิดจากการเชื่อมตะกั่วบัดกรีได้อีกด้วย

สำหรับ 2 ข้อแรก คุณสมบัติอาจจะเกิดความจำเป็นสำหรับคนทั่วไป ที่ไม่ได้ทำงานเฉพาะทาง พ่นสี ไอระเหย งานเชื่อม เพราะฉะนั้นหน้ากากที่แนะนำให้ควรใช้คือ




ขอบคุณภาพจาก เฟซบุ๊ก Teed Udomporn

3. หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง ที่ระบุว่าเป็นเส้นใยประจุไฟฟ้าสถิต ป้องกันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM 0.3 ละออง เชื้อโรค และฟูมโลหะ ป้องกันได้ถึง 95% มีมาตรฐาน NIOSH หาซื้อง่ายตามห้างสรรพสินค้า หรือห้างที่มีอุปกรณ์ช่างขาย ราคา 30-50 บาท มีให้เลือกใช้หลายยี่ห้อ

แต่ๆๆ ที่สำคัญ‼️

การใส่หน้ากากอนามัยไม่ควรใช้นานเกินไป หากมีสภาพที่สกปรกหรือหายใจแล้วเริ่มได้กลิ่นภายนอก แสดงว่าอาจจะเสื่อมสภาพแล้วควรเปลี่ยนโดยเร็ว


 แล้วแบบนี้ หน้ากากที่ใช้แล้ว ควรจะเปลี่ยนตอนไหน?

เรื่องนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ที่เราใช้ หากต้องใส่บ่อยๆ หรือใส่ทุกวัน ก็ควรเปลี่ยนบ่อย หรือถ้าเราใช้แล้วรู้สึกว่า หายใจสะดวกกว่าตอนใส่แรกๆ แบบนี้ต้องเปลี่ยน เพราะถ้าเราหายใจสะดวกขึ้นแสดงว่าหน้ากากเริ่มเสื่อม การกรองลดคุณภาพหายใจไปฝุ่นก็เข้าปอดเราไม่ต่างจากการใส่หน้ากากผ้าธรรมดาๆ นั่นเอง

 แต่ทางที่ดี ควรหลีกเลี่ยงการออกนอกอาคารหรือที่อยู่อาศัยหากไม่จำเป็น และ
- งดสูบบุหรี่
- ดื่มน้ำสะอาดมากๆ
- ล้างมือและหน้าบ่อยๆ
- รักษาความสะอาดของที่อยู่อาศัย
- เมื่อมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์
- ผู้ป่วยโรคหอบหืดและผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรพกยาติดตัวไว้ตลอดเวลา




ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค
                               www.bugaboo.tv/watch/367233




ประวัติภาษาไพทอน


โลโก python

                                      ประวัติภาษาไพทอน

ภาษาไพทอน (Python programming language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบอินเทอร์พรีเตอร์ ที่สร้างโดย กีโด ฟาน รอสซัม (Guido van Rossum) ในพ.ศ. 2533 ปัจจุบันดูแลโดย มูลนิธิซอฟต์แวร์ไพทอน

จุดเด่นของภาษาไพทอน
ไพทอนเป็นภาษาสคริปต์ ทำให้ใช้เวลาในการเขียนและคอมไพล์ไม่มาก ทำให้เหมาะกับงานด้านการดูแลระบบ (System administration) เป็นอย่างยิ่ง ได้มีการสนับสนุนภาษาไพทอนโดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการยูนิกซ์, ลินุกซ์ และสามารถติดตั้งให้ทำงานเป็นภาษาสคริปต์ของวินโดวส์ ผ่านระบบ Windows Script Host ได้อีกด้วย และ Python เองก็ได้ถูกนำมาพัฒนา Web application อย่างแพร่หลาย ซึ่งมี Framework สำหรับทำเว็บของ Python ที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือ Django

ไวยากรณ์อ่านง่าย
ไวยากรณ์ของไพทอนได้กำจัดการใช้สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแบ่งบล็อกของโปรแกรม และใช้การย่อหน้าแทน ทำให้สามารถอ่านโปรแกรมที่เขียนได้ง่าย นอกจากนั้นยังมีการสนับสนุนการเขียน docstring ซึ่งเป็นข้อความสั้นๆ ที่ใช้อธิบายการทำงานของฟังก์ชัน, คลาส, และโมดูลอีกด้วย

ความเป็นภาษากาว
ไพทอนเป็นภาษากาว (Glue Language) ได้อย่างดีเนื่องจากสามารถเรียกใช้ภาษาโปรแกรมอื่นๆ ได้หลายภาษา ทำให้เหมาะที่จะใช้เขียนเพื่อประสานงานโปรแกรมที่เขียนในภาษาต่างกันได้

ไลบรารีในไพทอน
การเขียนโปรแกรมในภาษาไพทอนโดยใช้ไลบรารีต่าง ๆ เป็นการลดภาระของโปรแกรมเมอร์ได้เป็นอย่างดี ทำให้โปรแกรมเมอร์ไม่ต้องเสียเวลากับการเขียนคำสั่งที่ซ้ำๆ เช่นการแสดงผลข้อมูลออกสู่หน้าจอ หรือการรับค่าต่าง ๆ
       ไพทอนมีชุดไลบรารีมาตรฐานมาให้ตั้งแต่ติดตั้งอินเตอร์พรีเตอร์ นอกจากนั้นยังมีผู้พัฒนาจากทั่วโลกดำเนินการพัฒนาไลบรารีซึ่งช่วยอำนวยความ สะดวกในด้านต่าง ๆ โดยจะเผยแพร่ในรูปแบบของแพ็คเกจต่าง ๆ ซึ่งสามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้อีกด้วย
          สุดท้าย คือ ภาษาไพทอน ทำงานเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับภาษา script ด้วยกัน เช่น php, jsp, asp จะพูดว่า ไพทอน เขียนน้อยได้งานมาก ทำงานเร็วก็ไม่ผิดนัก

ที่มา: wikipedia.org
          www.mindphp.com/บทเรียนออนไลน์/83-python/2393-ประวัติ-ภาษา-python-ไพทอน.html

เทคโนโลยี4.0

เทคโนโลยี4.0                  “ดิจิทัล 4.0” และ “ดิจิทัลไทยแลนด์” เป็นวลีที่คนไทยเริ่มจะได้ยินบ่อยขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ หลายคนอาจจะสงสัย...