วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

Final

เทคนิคการสอบจิงง!!!!!!!!!!!!
1. จับเวลาจริง!
       ทำข้อสอบเก่าอย่ามัวแต่จดจ้องอยู่กับข้อสอบ แต่ควรจับเวลาในการทำข้อสอบด้วย การสอบแต่ละสนาม ใช้เวลาไม่เท่ากัน จำให้ขึ้นใจเลยก็ดีนะว่าสอบอะไรใช้เวลาเท่าไหร่ อย่างการสอบโอเน็ทที่จะถึงนี้ ใช้เวลาสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง ก็หยิบนาฬิกามาตั้งไว้หน้าโต๊ะเลย แรกๆ ตั้งจับเวลาไปก่อนก็ได้ค่ะ นับถอยหลัง 2 ชั่วโมงไปเลย จะได้ไม่เสียสมาธิหันไปดูนาฬิกาบ่อยๆ แต่พอทำไปเรื่อยๆ ก็ไม่ต้องจับเวลา ให้เราควบคุมเวลาด้วยตัวเอง
       การทำข้อสอบแบบกำหนดเวลาจริงแบบนี้ จะทำให้เราคุ้นกับช่วงเวลาในการทำข้อสอบ วิชาไหนต้องคิดเยอะ วิชาไหนต้องเน้นอ่านไว เราจะได้รู้ด้วยตัวเอง
2. ปริ้นกระดาษคำตอบให้เหมือนจริง
       นอกจากตัวข้อสอบที่ควรปริ้นท์ไว้ล่วงหน้าแล้ว ก็ปริ้นตัวกระดาษคำตอบมาด้วยเลย เว็บ สทศ. มีมาให้โหลดทุกปีค่ะ อย่าลืมเช็กรูปแบบกระดาษคำตอบกับตัวคำถามด้วยว่าเหมือนกันหรือเปล่า แต่ถ้าหาไม่ได้จริงๆ หรือ เป็นข้อสอบของสถาบันกวดวิชาหรือของโรงเรียน ก็ทำกระดาษคำตอบขึ้นมาเองได้ แบบเขียนตอบ ไล่ 1-100 ตามจำนวนข้อก็ได้ค่ะ อย่าลืมเขียนชื่อวิชา และ ชื่อ สกุล เลขบัตรประชาชนของเราไว้ด้วยนะ เอาให้เหมือนกับสอบจริงเลย
3. จำลองบรรยากาศให้เหมือนวันสอบจริง!
      ข้อสอบ กระดาษคำตอบ และจับเวลาจริงแล้ว อย่าละเลยเรื่องการจำลองบรรยากาศด้วย ที่หลายๆ คนพลาดก็เพราะยังทำตามใจตัวเองอยู่ เช่น นอนทำข้อสอบ (ก็จับเวลาแล้วนี่!), วิ่งไปเข้าห้องน้ำ, สอบไปกินขนมไป ฯลฯ มาถึงขั้นนี้แล้ว อดทนอีกนิดเพื่อให้บรรยากาศเหมือนการสอบมากที่สุด พี่มิ้นท์ลองลิสต์มาได้ประมาณนี้ค่ะ
         - เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเริ่มสอบ
         - ใส่นาฬิกาเข้าห้องสอบ เพื่อดูเวลาจากข้อมือตัวเอง (และให้ตัวเองชินที่ต้องมีนาฬิกาบนข้อมือ)
         - นั่งทำบนโต๊ะ เคลียร์โต๊ะให้เรียบร้อย
         - เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เท่าที่จำเป็น
         - ไม่ต่อรองเวลา ไม่อู้ ง่วงก็ไปนอนไม่ได้ ทำไม่ทันก็ห้ามต่อเวลา
         - ปิดล็อกห้อง (ไม่ให้คนอื่นเข้ามารบกวน) ปิดมือถือ ปิดคอมฯ

4. วงกลมหน้าข้อเอาไว้ ในเรื่องที่เราไม่คุ้นเลย
       มาถึงขั้นตอนทำข้อสอบบ้าง ให้นึกเสมอว่าเราอยู่ในห้องสอบ ทำข้อสอบจริงอยู่ ข้อไหนที่ทำไม่ได้ให้ข้ามไปก่อน แนะนำเพิ่มเติมคือ ให้วงกลมหน้าข้อที่ทำไม่ได้เอาไว้ก่อน ไม่ใช่แค่เพื่อกลับมาทำทีหลัง แต่เอาไว้หลังสอบ จะได้กลับมาดูว่าคำถามแนวไหน เรื่องไหน ที่เราตอบไม่ได้ จะได้มีเวลากลับไปอ่านทวนอีกรอบ

   5. อย่าโกงตัวเอง
       พี่มิ้นท์มั่นใจว่า ก่อนทำข้อสอบ ลึกๆ น้องก็อยากทำตามกติกาทุกอย่าง แต่เมื่อรู้ว่านี่คือการซ้อม หลายคนก็หักห้ามใจไม่ไหว เช่น เจอบางข้อที่คุ้นๆ คุ้นมากๆ ลังเลจนเหลือ 2 ช้อยส์ เอาน่ะ..ขอหน่อย แอบไปเปิดดูเฉลย หรือ เปิดดูหนังสือซะงั้น เพราะคิดในใจว่า ข้อนี้ถือว่าเรารู้นะ แต่แค่ไม่มั่นใจเฉยๆ - -! มันจะไปมีประโยชน์อะไร ถ้าเราโกงตัวเอง เพราะในห้องสอบถ้าไม่รู้ก็คือไม่รู้ ไม่มั่นใจก็คือไม่มั่นใจ ไม่มีโอกาสเปิดเฉลยแบบนี้นะคะ ทำตามกติกาให้ครบทุกอย่าง แล้วเราจะภูมิใจในตัวเองค่ะ ไม่มั่นใจข้อไหนก็ดึงสัญชาตญาณตัวเองออกมาให้ได้มากที่สุด

   6.  อ่านและทวน ส่วนที่พลาดไป
       ถ้ามีเฉลยอยู่ในมือ ให้กลับมาดูหลังจากทำข้อสอบเสร็จและตรวจเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในข้อที่ 4 พี่มิ้นท์บอกว่าให้วงหน้าข้อที่ไม่มั่นใจไว้ นั่นแหละค่ะ หลังทำเสร็จให้กลับไปอ่านเนื้อหาเรื่องนั้นอีกรอบ การที่เราไม่มั่นใจแสดงว่าเรายังไม่เป๊ะพอนั่นเอง และข้อไหนที่ตอบผิดก็ดูเฉลยซะว่าทำไมถึงผิด ผิดเพราะสะเพร่า หรือ เข้าใจผิด และแก้ไขให้ตรงจุดค่ะ อย่าลืมกลับมาทำอีกรอบด้วยนะ ที่สำคัญ ห้ามทำให้คะแนนต่ำกว่าเดิม ไม่อย่างนั้นแสดงว่ามาตรฐานเราแย่ลงค่ะ
 7. จดสถิติทุกวิชา
       อาจจะดูวุ่นวายไปหน่อย แต่เชื่อเถอะว่า ทำแล้วเห็นผลค่ะ ทำข้อสอบเสร็จแต่ละวิชา จดไว้ว่าใช้เวลาไปเท่าไหร่ เฉลี่ยข้อละกี่นาที จดไว้เพื่อเป็นสถิติของตัวเอง บางครั้งเราทำข้อสอบหลายฉบับ เวลาอาจจะไม่เท่ากันค่ะ ถ้าเป็นวิชาเดียวกัน แต่รอบหลังใช้เวลามากกว่า จะได้ดูได้ว่าเราช้าเพราะอะไร ยากขึ้นหรือเปล่า จะได้เป็นมาตรฐานของตัวเองต่อไปว่า ถ้าข้อสอบยาก-ง่าย จะใช้เวลาประมาณไหน

   8. ทำให้เป็นนิสัย
       นำเทคนิคไป 7 ข้อเนื้อๆ แล้ว ข้อนี้สำคัญมาก หลายคนมาเน้นทำโจทย์สัปดาห์สุดท้ายด้วยเหตุผลยอดฮิตคือ อ่านไม่ทันแล้ว! เดี๋ยวค่ะ! การทำโจทย์เป็นทางลัดในการเตรียมตัวสอบก็จริง แต่มันจะได้ประโยชน์มากที่สุดก็ต่อเมื่อ เราฝึกทำโจทย์ตอนเราพร้อมและมีความรู้
        จึงอยากปรับทัศนคติของน้องๆ ใหม่ว่า เราควรอ่านหนังสือควบคู่ไปกับการทำโจทย์ และควรทำให้เป็นนิสัย ฝึกเรื่อยๆ ข้อสอบ 1 ชุด สามารถทำได้ 2-3 รอบเลยนะคะ เสร็จ 1 รอบ ดูเฉลย กลับไปอ่านทบทวนเรื่องที่ยังไม่เก็ท แล้วค่อยกลับมาสอบใหม่ แบบนี้น่าจะเวิร์คกว่าเนอะ

   9. คนเดียวมันเหงา เอาเพื่อนมาด้วย
       จัดสอบทั้งที ให้ได้บรรยากาศเพิ่มเติม ชวนเพื่อนมาเลยค่ะ อาจจะจัดสอบกันทุกอาทิตย์ก็ได้ถ้าฟิตพอ นัดแนะกับเพื่อนให้เรียบร้อยว่าวันหยุดนี้จะสอบวิชาไหน บ้านใคร จัดสถานที่สอบให้เหมือนที่บอกในข้อ 1-5 การมีเพื่อนสอบ ทำให้เราซึมซับบรรยากาศได้อีกแบบ ซึ่งจะเสมือนจริงมากกว่า ต้องควบคุมสมาธิของตัวเองมากกว่าเดิมด้วย 
แหล่งที่มา:https://www.dek-d.com/tcas/44226/
เส้นทางสู่อนาคต
อนาคตที่อยากเป็นคือเภสัชกร
                                 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ด้วยความเป็นคณะสายวิทย์ ส่วนใหญ่คะแนนที่ใช้ในแต่ละรอบก็จะเป็นคะแนนทางวิทยาศาสตร์ ทั้ง GAT PAT 2 หรือวิชาสามัญที่เก็บครบทั้ง 7 วิชาหลัก แต่ก็ยังมีการสอบอื่นๆ ที่น้องๆ ควรรู้เพื่อเตรียมตัวในการสอบเข้าคณะเภสัชศาสตร์ด้วย ดังนี้

     
ทดสอบ Icon GAT
     
ทดสอบ Icon PAT 1, PAT 2
     
ทดสอบ Icon วิชาสามัญ 7 วิชาหลัก
     
ทดสอบ Icon วิชาเฉพาะแพทย์ กสพท (เฉพาะสถาบันที่เข้าร่วม กสพท)
     
ทดสอบ Icon วิชาเฉพาะที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง
     
ทดสอบ Icon เกรดเฉลี่ย (ทั้ง GPAX และ GPA)
     
ทดสอบ Icon ผลสอบภาษาอังกฤษ (TOFEL, IELTS, CU-TEP, TU-GET)
     
ทดสอบ Icon Portfolio (ตามเงื่อนไขโครงการที่สมัคร)

3 ความคิดเห็น:

เทคโนโลยี4.0

เทคโนโลยี4.0                  “ดิจิทัล 4.0” และ “ดิจิทัลไทยแลนด์” เป็นวลีที่คนไทยเริ่มจะได้ยินบ่อยขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ หลายคนอาจจะสงสัย...